629 จำนวนผู้เข้าชม |
ในฤดูร้อน ปี 2567 หลายพื้นที่ในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงถึง 40 องศาเซลเซียส จนติด 1 ใน 15 ของเมือง ที่มีอากาศร้อนที่สุดในโลก เราจึงควรคำถึงถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อ ภาวะโรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก ที่เกิดขึ้นจากอุณหภูมิอากาศร้อนซึ่งหากอยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อน , ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้ง เป็นระยะเวลานาน จนทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูง จนส่งผลให้ร่างกายเกิดสัญญาณเตือน ดังนี้
สัญญาณเตือน อาการของโรคลมแดด
หากเกิดอาการดังนี้ควรทำการรักษาอย่างเร่งด่วน ถ้าปล่อยไว้โดยไม่เร่งรีบรักษาอาการจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ได้ทันที เช่น สมอง , หัวใจ , ไต และ กล้ามเนื้อ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันทีจะมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกช้อนร้ายแรงที่อันตรายได้
สมอง : สมองบวม เซลล์ประสาทถูกทำลายอย่างถาวร
หัวใจ : ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากหัวใจทำงานหนักเกินไป
ไต : การบาดเจ็บของไตเฉียบพลันที่เกิดจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อโครงร่างที่ปล่อยสารเข้าสู่กระแสเลือด
กล้ามเนื้อ : การสลายของกล้ามเนื้อโครงร่าง ( Rhabdomyolysis )
ระบบการแข็งตัวของเลือด : ภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือ ลิ่มเลือดอุดตันในร่างกาย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โรคลมแดด ( ระหว่างรอรถพยาบาล )
วิธีป้องกันโรคลมแดด
สรุป
ประเทศไทยมีแนวโน้มว่าในฤดูร้อนของทุกๆ ปี จะมีอุณหภูมิความร้อนสูงขึ้นเรื่อยๆ จากผลกระทบต่อภาวะโรคร้อนที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมในปัจจุบัน ซึ่งโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับ ทุกเพศ ทุกวัย เพราะฉะนั้นเราควรพึงระวังและป้องกัน เตรียมพร้อมความรู้ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
ICEBASE