โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือ โรคลมแดด ที่ต้องพึ่งระวังในช่วงฤดูร้อน

693 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคฮีทสโตรก (Heat Stroke) หรือ โรคลมแดด ที่ต้องพึ่งระวังในช่วงฤดูร้อน

ในฤดูร้อน ปี 2567 หลายพื้นที่ในประเทศไทยมีอุณหภูมิทะลุสูงถึง 40 องศาเซลเซียส จนติด 1 ใน 15 ของเมือง ที่มีอากาศร้อนที่สุดในโลก เราจึงควรคำถึงถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อ ภาวะโรคลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรก ที่เกิดขึ้นจากอุณหภูมิอากาศร้อนซึ่งหากอยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อน , ทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงกลางแจ้ง เป็นระยะเวลานาน จนทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูง จนส่งผลให้ร่างกายเกิดสัญญาณเตือน ดังนี้

สัญญาณเตือน อาการของโรคลมแดด

  • อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ส่งผลให้ตัวร้อนมาก
  • ผิวหนังแห้ง , แดง ไม่มีเหงื่อออก
  • ปวดศรีษะตุบๆ รู้สึกหน้ามืด ความดันโลหิตลดลง
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน รู้สึกอ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบถี่ ใจสั่น
  • กระหายน้ำ

หากเกิดอาการดังนี้ควรทำการรักษาอย่างเร่งด่วน ถ้าปล่อยไว้โดยไม่เร่งรีบรักษาอาการจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ได้ทันที เช่น สมอง , หัวใจ , ไต และ กล้ามเนื้อ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันทีจะมีโอกาสเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกช้อนร้ายแรงที่อันตรายได้
สมอง : สมองบวม เซลล์ประสาทถูกทำลายอย่างถาวร
หัวใจ : ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดจากหัวใจทำงานหนักเกินไป
ไต : การบาดเจ็บของไตเฉียบพลันที่เกิดจากการสลายตัวของกล้ามเนื้อโครงร่างที่ปล่อยสารเข้าสู่กระแสเลือด
กล้ามเนื้อ : การสลายของกล้ามเนื้อโครงร่าง ( Rhabdomyolysis )
ระบบการแข็งตัวของเลือด : ภาวะเลือดออกผิดปกติ หรือ ลิ่มเลือดอุดตันในร่างกาย
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โรคลมแดด ( ระหว่างรอรถพยาบาล )

 

วิธีป้องกันโรคลมแดด


  • ส่วมใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าไม่หนาเกินไปสามารถระบายอากาศได้เป็นอย่างดี
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือ สถานที่ ที่มีอากาศร้อนไม่ถ่ายเท
  • ดื่มน้ำบ่อยๆ 6-8 แก้ว/วัน เพื่อเติมความชุ่มชื่นต่อร่างกาย
  • ทาครีมกันแดดที่มีค่ากันแดดอย่างน้อย SPF15


  สรุป
ประเทศไทยมีแนวโน้มว่าในฤดูร้อนของทุกๆ ปี จะมีอุณหภูมิความร้อนสูงขึ้นเรื่อยๆ จากผลกระทบต่อภาวะโรคร้อนที่ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมโดยรวมในปัจจุบัน ซึ่งโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก นั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับ ทุกเพศ ทุกวัย เพราะฉะนั้นเราควรพึงระวังและป้องกัน เตรียมพร้อมความรู้ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
ICEBASE

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้