3993 จำนวนผู้เข้าชม |
เนื่องจากรูปแบบการอยู่อาศัยของครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงไปจากในอดีต ขนาดครอบครัวแต่ละครัวเรือนมีขนาดเล็กลงเหลือจำนวนสมาชิกเฉลี่ย 3 คน ต่อครอบครัว แนวโน้มการอยู่คนเดียวมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในวัยสูงอายุ คนวัยหนุ่ม-สาว ยุคใหม่มีแนวโน้มแต่งงานช้าลงเรื่อยๆและนิยมมีบุตรน้อยลงหรือบางส่วนแต่งงานแต่ไม่ต้องการมีบุตร จึงทำให้สัดส่วนเด็กเกิดน้อยลง ส่งผลให้ประชากรที่จะเติบโตไปทดแทนวัยแรงงานมีจำนวนลดลง
ทำให้สัดส่วนวัยแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตรส่วนพึ่งพิงของวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น ทำให้มองเห็นภาพในอนาคตของสังคมไทยที่ประชากรวัยแรงงานในปัจจุบันจะกลายเป็นกลุ่มผู้สูงอายุขนาดใหญ่ในอนาคตและคนกลุ่มนั้นนอกจากต้องเลี้ยงดูตนเองแล้วยังต้องมีภาระในการเลี้ยงดูบิดา-มารดาที่เป็นผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีกด้วย
จากสถานการณ์ทางด้านประชากร จึงทำให้ประเทศไทยต้องมีการเตรียมความพร้อมรับมือ และ กำหนดมาตรการรองรับสังคมสูงวัย
โดยทุกคนต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมรูปแบบการใช้ชีวิตในอนาคตของคนทุกวัยจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของแต่ละบุคคล ดังนั้นการสร้างความตระหนักและนำไปสู่การปรับพฤติกรรมของบุคคลจึงเป็นสิ่งที่ยากต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งต้องสื่อสารทำความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง
ปรับเปลี่ยน MindSet โดยเร่งส่งเสริมให้ประชากรไทยมีความรู้ ความเข้าใจ เรื่อง สังคมผู้สูงอายุ ว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคนทุกวัย มีความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน และ มีผลกระทบต่อกันในทุกช่วงวัย
ผู้สูงอายุหลายคนประสบกับความสามารถทางร่างกายและจิตใจที่ลดลงซึ่งหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถดูแลตัวเองได้ หากปราศจากการสนับสนุนและความช่วยเหลือ การเข้าถึงการดูแล
จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการพึ่งพาเพิ่มสูงตาม
ผู้ดูแลผู้สูงอายุควรจะเตรียมความพร้อมในเรื่องของสภาวะต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อ ให้สามารถจัดการกับสภาวะต่างๆได้ง่ายขึ้น
ด้านร่างกาย
ด้านอารมณ์
ด้านเศรษฐกิจ
ด้านสังคม